ขนาดตัวอักษร เล็ก ปกติ ใหญ่

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

tab faq

bullet1 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 8 จังหวัดขอนแก่น  อยู่แถวไหน  เดินทางยังไง
     ศูนย์ฯ ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น 500 เมตร  ทางทิศหนือ ตรงข้ามกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
     สามารถ ดูแผนที่  ได้ที่ หน้าเว็บ https://cttc8.cttc.cpd.go.th/

bullet1 แผนการอบรมของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 8 จังหวัดขอนแก่น  มีอะไรบ้าง
      ศูนย์ฯ  มีโครงการฝึกอบรมในแต่ละปีแตกต่างกันไปตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  สามารถดูโครงการฝึกอบรมของศูนย์ฯ 
     ได้ที่ หน้าเว็บ https://cttc8.cttc.cpd.go.th/news-all/activities-news.html หรือ https://www.facebook.com/profile.php?id=100069064575090

Bar Aero Animate

  • ฮิต: 3151

กำเนิดสหกรณ์

4 กำเนิดสหกรณ์

กำเนิดสหกรณ์

Portrait of Robert Owen
โรเบิร์ด โอเวน บิดาสหกรณ์โลก

           สหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก การกว้านซื้อที่ดินส่งผล ให้ประชาชนชั้นรากฐานไร้ที่ดินทำกิน ละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง ความยากจนยิ่งโหมกระหน่ำ จากสังคมที่เคยเกื้อกูลดังเช่นในชนบทได้จางหายไปทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนเอา ตัวรอด ถึงกระนั้นความพยายามแสวงหาวิธี สร้างสังคมใหม่ควบคู่กันไปกับระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืนได้ใช้เวลาเนิ่นนานจึงคิดค้นวิธีการได้สำเร็จ เรียกว่า" การสหกรณ์ " และถือว่า โรเบิร์ด โอเวน เป็นบิดาสหกรณ์โลก

สหกรณ์แห่งแรกของโลก

          ความลำบากยากแค้นของผู้ใช้แรงงานในโรงงานท่อผ้า ณ เมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าเงินเชื่อรวมกับดอกเบี้ยสูง และการจ่ายค่าจ้างเป็นสิ่งของ เป็นแรงผลักดันให้มีการแสวงหาทางรอด ตามวิธีสหกรณ์ คือร้านสหกรณ์ รอชเดล โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกันในหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎ 10 ประการ และกฎนี้เป็นแม่บทของ หลักการสหกรณ์ สหกรณ์นี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก การดำเนินงานของสหกรณ์รอชเดล ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือสมาชิกเฉพาะในด้านเครื่องโภคภัณฑ์เท่านั้น ยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้น้อย การศึกษาจึงมีความจำเป็น โดยได้เปิดสอน ในวิชาการต่าง ๆ แก่สมาชิกในยามว่าง ก็คือ เวลากลางคืน จึงเรียกว่า " โรงเรียนกลางคืน

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

          ความลำบากยากเข็ญที่กระจายอยู่ทั่วไป เยอรมันก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำเนิดสหกรณ์เครดิต (สหกรณ์สินเชื่อ หรือ ธนาคารสหกรณ์) ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สหกรณ์ในเมือง มีเฮอร์มัน ชุลซ์ - เดลิทซ์ (Hermanu Schulze - Delitzsch) เป็นผู้ให้กำเนิดสหกรณ์ สำหรับประชาชนผู้ยากจนในเมือง และ สหกรณ์เครดิตในชนบทมี ฟรีดริช วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffisen) เป็นผู้ให้กำเนิด ในการจัดตั้งสหกรณ์สำหรับชาวนา โดยได้ขยายไปทั่วเยอรมนีและสหกรณ์เหล่านี้ได้ร่วมตัวกันก่อตั้ง สถาบันกองทุนกลางในภูมิภาคต่าง ๆในที่สุดได้ก่อตั้งสถาบันกลางระดับชาติ

วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)

          สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น " ขบวนการสหกรณ์โลก " มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น " วันสหกรณ์สากล "

  • ฮิต: 996

ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย

5 ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย

ประวัติสหกรณ์ในประเทศไทย

pbd61

พระราชวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
(พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย)


ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย

การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด นอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด

จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ

             วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป
             วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า "โคออเปอราทีฟ โซไซ"(Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "สมาคมสหกรณ์" จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการสหกรณ์

          การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า "เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย" จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

          ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิกจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท ซึ่งเป็นเงิน จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนจำนวน 3,000 บาท ได้อาศัยเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้นในปีแรกจำนวน1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิกส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่งดอกเบี้ยได้ครบทุกราย แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจากจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัดในทางกฎหมายด้วย เพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ทำให้การจัดตั้งสหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้องออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ จากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไปอีกมาก

          ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สหกรณ์บำรุงที่ดินสหกรณ์ค้าขาย สหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480 ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อว่าร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้ มีสมาชิกแรกตั้ง279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ โดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชน

          การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ประมาณ 7,964 สหกรณ์ และสมาชิก 10,827,490 คน การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ ต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

  • ฮิต: 880

กำเนิดสหกรณ์

4 กำเนิดสหกรณ์

 
 

กำเนิดสหกรณ์

 
 

Portrait of Robert Owen
โรเบิร์ด โอเวน บิดาสหกรณ์โลก

           สหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินจำนวนมาก การกว้านซื้อที่ดินส่งผล ให้ประชาชนชั้นรากฐานไร้ที่ดินทำกิน ละทิ้งถิ่นฐานเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง ความยากจนยิ่งโหมกระหน่ำ จากสังคมที่เคยเกื้อกูลดังเช่นในชนบทได้จางหายไปทุกคนต้องต่อสู้ดิ้นรนเอา ตัวรอด ถึงกระนั้นความพยายามแสวงหาวิธี สร้างสังคมใหม่ควบคู่กันไปกับระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืนได้ใช้เวลาเนิ่นนานจึงคิดค้นวิธีการได้สำเร็จ เรียกว่า" การสหกรณ์ " และถือว่า โรเบิร์ด โอเวน เป็นบิดาสหกรณ์โลก

สหกรณ์แห่งแรกของโลก

          ความลำบากยากแค้นของผู้ใช้แรงงานในโรงงานท่อผ้า ณ เมืองรอชเดล ประเทศอังกฤษ ที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการซื้อสินค้าเงินเชื่อรวมกับดอกเบี้ยสูง และการจ่ายค่าจ้างเป็นสิ่งของ เป็นแรงผลักดันให้มีการแสวงหาทางรอด ตามวิธีสหกรณ์ คือร้านสหกรณ์ รอชเดล โดยสมาชิกผู้ก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกันในหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า กฎ 10 ประการ และกฎนี้เป็นแม่บทของ หลักการสหกรณ์ สหกรณ์นี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก การดำเนินงานของสหกรณ์รอชเดล ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือสมาชิกเฉพาะในด้านเครื่องโภคภัณฑ์เท่านั้น ยังมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านการศึกษา เพราะเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ใช้แรงงานมีความรู้น้อย การศึกษาจึงมีความจำเป็น โดยได้เปิดสอน ในวิชาการต่าง ๆ แก่สมาชิกในยามว่าง ก็คือ เวลากลางคืน จึงเรียกว่า " โรงเรียนกลางคืน

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

          ความลำบากยากเข็ญที่กระจายอยู่ทั่วไป เยอรมันก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำเนิดสหกรณ์เครดิต (สหกรณ์สินเชื่อ หรือ ธนาคารสหกรณ์) ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สหกรณ์ในเมือง มีเฮอร์มัน ชุลซ์ - เดลิทซ์ (Hermanu Schulze - Delitzsch) เป็นผู้ให้กำเนิดสหกรณ์ สำหรับประชาชนผู้ยากจนในเมือง และ สหกรณ์เครดิตในชนบทมี ฟรีดริช วิลเฮล์ม ไรฟ์ไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffisen) เป็นผู้ให้กำเนิด ในการจัดตั้งสหกรณ์สำหรับชาวนา โดยได้ขยายไปทั่วเยอรมนีและสหกรณ์เหล่านี้ได้ร่วมตัวกันก่อตั้ง สถาบันกองทุนกลางในภูมิภาคต่าง ๆในที่สุดได้ก่อตั้งสถาบันกลางระดับชาติ

วันสหกรณ์สากล (International Cooperativees Day)

          สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีหลายประเภทหลายระดับรวมเป็นขบวนการสหกรณ์ของประเทศนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าแตกต่างกันไป มองในภาพรวมเรียกได้ว่าเป็น " ขบวนการสหกรณ์โลก " มีการประชุมสมัชชาสหกรณ์ระหว่างชาติ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2438 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีมติก่อตั้งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์ ระหว่างประเทศ ( องค์การ ICA ) เพื่อประสานความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศ สวิชเซอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2538 องค์การ ICA ได้ปรับปรุงและประกาศหลักการเป็น 7 ประการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้องค์การ ICA ได้ประกาศให้สหกรณ์ทั่วโลกร่วมเฉลิมฉลองวันสหกรณ์สากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2465 ต่อมาที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2535 มีมติให้วันเสาร์แรกของเดือนกรกฎาคมทุกปี เป็น " วันสหกรณ์สากล "

  • ฮิต: 2428

สหกรณ์คืออะไร  

2 สหกรณ์คืออะไร  

 

สหกรณ์คืออะไร  

 

ความหมายของสหกรณ์

สหกรณ์ คือ "องค์กรๆ หนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจ เพื่อดำเนินงานทั้งในด้านความคิด ระบบบริหารจัดการผลผลิต
และบุคคลโดยใช้หลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม"

บทนิยามของคำ  "สหกรณ์"  (แก้ไขใหม่)

สหกรณ์   คือ องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยการลงหุ้นร่วมกัน จัดการร่วมกันในการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือบริการตามความต้องการหรือผลประโยชน์อย่างเดียวกันของบรรดาสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์ออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการบริหารสหกรณ์ โดยไม่ขึ้นกับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่
เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์โคนม, (กฎ) คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์.

หมายเหตุ  จากหนังสือราชบัณฑิตยสถาน ที่ รถ 0004/800 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2550

  • ฮิต: 873

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 8 ขอนแก่น
Copyright © 2022 Cooperative Technology Training Center 8 Khon Kaen Provincial 
ภาพประกอบเว็บไซต์ โดย : flaticon.con , freefik.com , pixabay.com

BACK TO TOP